1.หยุดก่อหนี้
อันดับแรกคือทำเช็กลิสต์ออกมาเลยว่าเรามีหนี้อะไรบ้าง จัดลำดับความสำคัญแล้วทยอยสะสางให้หมด โดยเฉพาะหนี้ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายเพิ่ม เช่น หนี้บัตรเครดิตที่จ่ายขั้นต่ำทุกเดือน ต้องเสียดอกเบี้ยแพงๆ ยิ่งต้องเคลียร์ให้จบเร็วที่สุด และ “หยุดก่อหนี้เพิ่ม” จะได้เริ่มเก็บเงินกันสักทีค่ะ
 
2.ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เรื่องพื้นฐานที่เราทำกันตั้งแต่สมัยประถมฯ อย่างการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายนี่ล่ะค่ะ จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างราบรื่น หมั่นจดบันทึกให้เป็นนิสัย แล้วคอยสังเกตว่ารายจ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็น ก็ให้ตัดออก …ไม่ใช่ว่าให้ลบรายการออกจากบัญชีนะคะ แต่หมายถึงให้ลด ละ เลิกการใช้จ่ายอันนั้น หลักการง่ายๆ คือรายรับต้องมากกว่ารายจ่าย การเงินของเราจึงจะไม่มีปัญหา
 
3.เงินเดือนออกปุ๊บ หักออกไว้เก็บทันที
บางคนยังเข้าใจผิดว่าเงินออมก็คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายแต่ละเดือน แต่จริงๆ แล้วเงินออมต้องถูกหักออกจากรายรับ แล้วส่วนที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่ายต่างหาก ท่องไว้ครับ “รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่าย” ดังนั้นพอเงินเดือนเข้าแล้ว ให้หักออกไปเข้าบัญชีเงินออมทันที แรกๆ หากยังมีภาระหนี้สินเยอะก็หักสัก 10% แต่ถ้าเริ่มบริหารจัดการได้แล้วก็เพิ่มเป็น 20% ได้ค่ะ
 
4.ตั้งเป้าหมายทางการเงิน
หลังจากที่เริ่มมีเงินออมแล้ว สเต็ปต่อไปก็คือการจัดสรรเงินออมและตั้งเป้าหมายครับ เช่น เงินออมสำรองยามฉุกเฉิน เงินออมเพื่อการลงทุน เงินออมเพื่อซื้อบ้าน/รถ เงินออมเพื่อการท่องเที่ยวต่างประเทศ เงินออมในยามเกษียณ ฯลฯ เป้าหมายเหล่านี้จะช่วยให้การออมเงินของเราแน่วแน่มากขึ้น
 
5.ลงทุนให้เงินเก็บงอกเงย
เมื่อการเงินของเราเริ่มมีสภาพคล่องแล้ว ก็สามารถนำเงินออมส่วนหนึ่งมาลงทุนได้ค่ะ ซึ่งก็มีหลากหลายประเภททั้งการฝากบัญชีออมทรัพย์ ซื้อสลาก กองทุนรวม พันธบัตร หุ้น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ความเสี่ยงน้อยก็ได้ผลตอบแทนน้อย ความเสี่ยงมากก็ได้ผลตอบแทนมาก แล้วแต่ว่าใครจะเลือกแบบไหน แต่อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนนะคะ
 
Cr.aomMONEY

 
รับปรึกษางานด้านบัญชี
สนใจและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
บ.โฟรบอส พลัส จำกัด
โทร : 081-694-7762

ใส่ความเห็น