💥📢ภาษี e-payment คืออะไร!?💥
พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ควรรู้ไว้นะจ๊ะ (cr.sellsuki) https://bit.ly/2Q2I9fQ
📌ภาษี e-paymentคืออะไร?
กฎหมายภาษี e-Paymentมีการประกาศราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 โดยกฎหมายนี้จะกระทบกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีการรับเงินโอนวันละจำนวนมาก ๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงถึงสถานบันการเงินที่ดูแลบัญชีเหล่านั้นอีกอีกด้วยที่จะต้องรายงานผลให้กรมสรรพากรทราบในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
2. ฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวมของธุรกรรมฝาก หรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป
รวมถึงจะมีการนับยอดรวมการโอนของทุกบัญชีที่มีอยู่ในธนาคารเดียวกันรวมกันด้วย เช่น หากมีการเปิดบัญชี กับธนาคารหนึ่ง 5-10 บัญชี ก็จะนับยอดรับโอนทั้ง 5-10 บัญชี มานับรวม หากมีข้อมูลเกินกว่าที่กำหนด ที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็จะต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่จะไม่นับข้อมูลบัญชีที่ต่างธนาคาร
📌ภาษี e-payment มีไว้เพื่ออะไร?
📌ภาษี e-payment มีทำไม?
วัตุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายภาษี e-Paymentหลังจากมีการเข้ามาของการค้าขายบนสื่ออนไลน์มากขึ้นทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถติดตามการเดินเงินของผู้ถือบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น กฎหมายตัวนี้จึงมีขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการติดตามบัญชี ซึ่งสำหรับพ่อค้าค้าแม่ค้าคนไหนที่มีการยื่นเรื่องภาษีปกติอยู่แล้วก็จะไม่ได้รับผลกระทบมาก
📌ค่าปรับที่ควรรู้?
สำหรับธนาคาร สถาบันการเงิน และอีวอลเลต ที่ไม่ปฏิบัติหน้าในการส่งข้อมูลไปยังสรรพากรที่มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะทำการส่งข้อมูล นอกจากนี้กรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยหากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
📌เอกสารที่ต้องส่งให้สรรพากร
📌เอกสารยื่น ภาษี e-payment
ซึ่งย้ำอีกครั้งครับว่าพ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องส่งเอกสารเอง ผู้ที่มีหน้าที่ส่งเอกสารเหล่านี้ให้แก่ทางสรรพากรคือ สถานบันการเงินต่าง ๆ ที่ดูแลบัญชีของเราอยู่ แต่เพราะว่าเป็นข้อมูลของเราดังนั้นควรรู้ไว้นะครับว่าเอกสารอะไรบ้างที่เค้าจะต้องนำไปใช้เพื่อส่งให้สรรพากร
– เลขบัตรประชาชน
– ชื่อ นามสกุล
– จำนวนครั้งที่ฝาก-รับโอน ต่อปี
– ยอดรวมเงินฝาก-รับโอน ต่อปี
ซึ่งเมื่อเอกสารถูกนำส่งไปยังสรรพากรแล้ว จากนั้นจึงจะมีการเรียกตัวพ่อค้าแม่ค้าที่มีเกณฑ์เข้าข่ายจะต้องเสียภาษี e-payment เพิ่ม โดยในขั้นตอนนี้ทางเราเองก็จะต้องนำส่งเอกสารจำพวกบัญชีรายรับรายจ่ายให้เขาตรวจสอบอีกทีค่ะ และนี่ก็คือกฎหมายเกี่ยวภาษี e-payment ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรรู้ไว้ และอย่าลืมตรวจสอบเช็คบัญชีตัวเองให้ดีด้วยนะคะ เพื่อประโยชน์ของข้อมูลทางการเงินของคุณเองค่ะ☺

ใส่ความเห็น